ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) ฝ่ายสารสนเทศ สำนักหอสมุด ได้รับเชิญจากสำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ร่วมจัดนิทรรศการคลังความรู้ดิจิทัลควายไทย ภายใต้งาน มหกรรมประกวดควายงาม ควายยักษ์ ความแคระ ณ มหาวิทยาลัยกาฬสิทธุ์ เมื่อวันที่ 28-30 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับกระบือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 ภายในนิทรรศการประกอบด้วย 1) ฐานข้อมูลควาย 2) วารสาร Buffalo Bulletin 3) รายชื่อฟาร์มควายในประเทศไทย 4) สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับควาย 5) คลังความรู้ดิจิทัลด้านการเกษตร 6) ห้องสมุดเพื่อเกษตรกรไทยและการแอดไลน์กูรูเกษตรศาสตร์ และ 7) คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ จำนวน 226 คน และมีผู้ตอบแบบประเมิน จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 57.08 พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดนิทรรศการฯ เท่ากับ 4.54 อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก

นอกจากนี้ทางศูนย์ IBIC ได้รวบรวมรายชื่อฟาร์มควายในประเทศไทยจากบริเวณรอบเวทีการประกวดควาย ซึ่งได้รายชื่อฟาร์มควายเพิ่มขึ้น จำนวน 69 รายชื่อ สำหรับเพิ่มข้อมูลในรายชื่อฟาร์มควายในประเทศไทยที่ลิงก์ https://ibic.lib.ku.ac.th/buf-th/60-thai-buffalo-farm และจัดทำ Dashboard แสดงจำนวนควายในประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2567 แบบรายจังหวัด ในบริการออนไลน์ผ่านลิงก์ https://kasets.art/mE1NdU ซึ่งได้ข้อมูลจากกลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์

ภาพกิจกรรม คลิก

วารสาร Buffalo Bulletin เป็นวารสารเดียวของ มก. และ 1 ใน 8 วารสารไทยที่มีค่า Impact Factor จากฐานข้อมูล Journal Citation Reports (Web of Science Core Collection: Science Citation Index Expanded) ซึ่งทาง Web of Science ได้ประกาศค่า Impact factor 2023 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2567

โดยค่า Impact factor 2023 ของวารสาร Buffalo Bulletin เท่ากับ 0.2 และปัจจุบันวารสาร Buffalo Bulletin ยังไม่มีการเก็บค่าตีพิมพ์บทความ สามารถส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ได้ที่ ลิงก์ https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/BufBu นอกจากนี้ยังเป็นวารสารต้นแบบของ มก. ที่นำระบบ OJS มาใช้ในการจัดทำวารสาร พัฒนาโดยศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อระบบ สามารถใช้ในการบริหารจัดการและตีพิมพ์วารสารออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ทางศูนย์ IBIC จึงได้นำระบบ OJS มาต่อยอดเป็นระบบ KUOJS (https://kuojs.lib.ku.ac.th) และขยายผลสู่การจัดการวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาเกษตร โดยผู้ผลิตวารสารจากทุกวิทยาเขต ได้ให้ความสนใจมาร่วมใช้งานระบบ KUOJS นอกจากจะช่วยประหยัดงบประมาณไม่ต้องเสียค่าใช้ง่ายในการจัดซื้อระบบแล้ว ยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ก้าวสู่การเป็นวารสารระดับชาติตามเกณฑ์ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre : TCI) และพัฒนาสู่การเป็นวารสารระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากล
 
สามารถดูรายชื่อวารสารของ มก. ที่ใช้งานระบบ KUOJS ได้ที่ลิงก์ https://kuojs.lib.ku.ac.th
แหล่งข้อมูล: Journal Citation Reports - Clarivate

เนื่องในโอกาส “วันอนุรักษ์ควายไทย 14 พฤษภาคม” (National Thai Buffalo Conservation Day) ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับควาย ดังนี้
1. ฐานข้อมูลควาย (Buffalo Database) แหล่งรวบรวมบทความและงานวิจัยด้านควายทั้งไทยและต่างประเทศ ดาวน์โหลดบทความฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
https://agkb.lib.ku.ac.th/buffalo

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับควายไทย อ่านฟรีทุกเล่ม
https://kasets.art/fmJQ7r


3. สถิติจำนวนควายในประเทศไทย
https://ibic.lib.ku.ac.th/buf-th/61-statistic-buffalo

4. รายชื่อฟาร์มควายในประเทศไทย
https://ibic.lib.ku.ac.th/buf-th/60-thai-buffalo-farm

5. วารสารวิชาการด้านควาย (ภาษาอังกฤษ)
– Buffalo Bulletin
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/BufBu

– Journal of Buffalo Science
https://www.lifescienceglobal.com/.../journal-of-buffalo...

6. ข่าวเกี่ยวกับควาย
https://ibic.lib.ku.ac.th/buf-th/33-buffalonewsth

7. รายชื่อองค์กรด้านควาย
https://ibic.lib.ku.ac.th/link

ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยกับการจากไปของ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.จรัญ จันทลักขณา
ผู้ร่วมจัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ
ขอให้ดวงวิญญาณของท่านสู่สุคติในสัมปรายภพด้วยเทอญ
 
ประวัติของท่านจากหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
ผลงานของท่านในคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ณ เจ้าทุย สเปซ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด หน่วยงานด้านการลงทุนของ บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป ซึ่งเน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพหรือโครงการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีเป็นหลัก รวมไปถึงสนับสนุนและให้โอกาสแก่นักพัฒนารุ่นใหม่ในการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์และใช้งานได้จริงเพื่อพัฒนาและขยายระบบนิเวศบล็อกเชนทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ บริษัท เจ้าทุย จำกัด บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อยกระดับการอนุรักษ์และเพิ่มคุณค่าควายไทย ตลอดจนมีความตั้งใจผลักดันวงการควายไปสู่สากล โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาเพื่อพัฒนา อนุรักษ์ควายไทย และยกระดับวงการควายไทยสู่ระดับสากล

 

 

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, นางสาวเนาวรัตน์ ธรรมสวยดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด, นายธนบัตร ใคร่นุ่นสิงห์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เจ้าทุย จำกัด และนายณรงค์พงศ์ จันทรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เจ้าทุย จำกัด และได้รับเกียรติจาก นายสำเริง ม่วงสังข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมเป็นประธานในพิธี

 

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการจัดบรรยายเพื่อมอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์ควายไทย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยีและวงการควายไทยจำนวนมาก อาทิ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด, นางสาวเนาวรัตน์ ธรรมสวยดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด, นายธนบัตร ใคร่นุ่นสิงห์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เจ้าทุย จำกัด, ศาสตราจารย์ ดร.กุลเชษฐ์ เพียรทอง ตัวแทนจากสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย, นายทศพร ศรีศักด์ อดีตรองอธิบดีกรมปศุสัตว์และอดีตนายกสมาคม พัฒนาควายไทย และคุณพ่อเสมียน ผู้ให้กำเนิดควายงามสายอุดรผู้เป็นที่เคารพรักของวงการควายไทย

 

 

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงควายสวยงาม โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เลี้ยงควายไทยทั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียงจำนวนมาก

 

 

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เปิดเผยว่า “บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมอบโอกาสและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับประเทศ สร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับคนไทย เพื่อยกระดับประเทศของเราให้ดีขึ้น ซึ่ง บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทลูกของ บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป  ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานด้านการลงทุน รวมไปถึงสนับสนุนและให้โอกาสแก่นักพัฒนารุ่นใหม่ในการสร้างสิ่งที่มีประโยชน์และใช้งานได้จริงเพื่อพัฒนาและขยายระบบนิเวศบล็อกเชน วันนี้เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่องค์กรของเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและอนุรักษ์ควายไทย พร้อมทั้งผลักดันให้ควายไทยไปสู่ระดับสากล การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนซื้อได้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มูลค่าของควายไทยมากขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการทำให้วงการควายเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากขึ้น มีความต้องการซื้อมากขึ้น เพื่อทำให้ควายไทยมีมูลค่าที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งเทคโนโลยีจะเข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้”

 

นางสาวเนาวรัตน์ ธรรมสวยดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า      “บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาสนับสนุนเจ้าทุยในครั้งนี้ บิทคับ เวนเจอร์สยังไม่เคยลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับวงการปศุสัตว์มาก่อน ซึ่งโครงการเจ้าทุยมีความน่าสนใจอย่างมากและควายไทยเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเราจะช่วยสนับสนุนทั้งในเรื่องของเงินทุน เทคโนโลยีบล็อกเชน และการมอบความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาและอนุรักษ์ควายไทยให้คงอยู่ตลอดไป ตลอดจนมีมูลค่าที่สูงขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมมือกันผลักดันให้ควายไทยไปสู่ระดับสากลอย่างแท้จริง”

 

นายธนบัตร ใคร่นุ่นสิงห์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เจ้าทุย จำกัด กล่าวว่า “เริ่มแรก ผมเป็นคนที่มีความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีเป็นอย่างมากและมีโอกาสได้ทำงานในสายเทคโนโลยีมาอย่างยาวนาน เมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบกับคุณครูภักซึ่งเป็นคนที่มีความชื่นชอบในควายไทยเป็นอย่างมากและได้ตัดสินใจลาออกจากอาชีพคุณครูเพื่อมาเลี้ยงควาย ผมได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปดูและเกิดความคิดที่ว่าอยากจะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและ NFT เข้ามาประยุกต์ใช้กับวงการควายไทย เนื่องจากวงการควายไทยยังมีสิ่งที่สามารถพัฒนาไปได้อีกมาก อาทิ การทำใบพันธุ์ประวัติ (Pedigree) เพื่อใช้เก็บชื่อ เลขไมโครชิพ ผู้เพาะพันธุ์ วันเกิด น้ำหนัก ส่วนสูง การระบุตัวตนของพ่อแม่ และรางวัลต่าง ๆ ที่เคยได้รับ ซึ่งหากข้อมูลทั้งหมดถูกนำไปไว้บนเชนทุกคนก็จะสามารถเข้ามาดูได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ในวงการควายไทย คนนอกวงการควายไทย ตลอดจนคนต่างประเทศที่มีควานสนใจในเรื่องของการเลี้ยงควายโดยสามารถต่อ

ยอดไปถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากขึ้น นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ผมเล็งเห็น คือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ซื้อเป็นอย่างมาก ผมจะเดินหน้าพัฒนาและอนุรักษ์ควายไทยเอาไว้ เพราะผมเชื่อว่า ควายไทย คือ เอกลักษณ์ของประเทศไทย มีความสวยที่สุดในโลก และมีคุณค่าต่อคนไทยเป็นอย่างยิ่ง ผมจะผลักดันให้คนทั่วโลกได้รู้จักโดยการเอานวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วย”

ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด